วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริการชั่งหัวมัน


โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ

วิมานน้ำ รีสอร์ท

 โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
                ประวัติโครงการ : ที่มาของโครงการนี้มีว่า ข้าราชบริพารในพระองค์ได้มาซื้อที่ดินบริเวณนี้สำหรับอยู่อาศัย ปลูกพืชผล ต่อมาความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรที่ดินและได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวจำนวน 250 ไร่ สำหรับเพาะปลูกพืชทำเป็นโครงการตามพระราชดำริ และได้มีมีชาวบ้านได้นำมันเทศที่ปลูกมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์แต่เมื่อเสด็จกลับมิได้ทรงนำมันหัวนั้นไปด้วย แต่เมื่อเสด็จกลับมาอีกครั้งทรงพบว่ามันหัวนั้นงอกเป็นต้น จึงมีพระราชดำรัสว่ามันอยู่ที่ไหนก็งอกได้ จึงมีพระราชดำริให้จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ โดยเน้นที่พืชท้องถิ่นของเพชรบุรี เช่น มะพร้าว ชมพู่เพชร มะนาว กะเพรา สัปปะรด ข้าวไร่พันธุ์ต่างๆ และทรงมีพระราชดำริให้ปลูกแปลงทดลองมันเทศในที่ดินส่วน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการพระราชดำริล่าสุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังทรงให้ปรับปรุงระบบระบายน้ำที่อ่างเก็บน้ำหนองเสือ  เพื่อใช้ในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ  บ้านหนองคอกไก่  ตำบลเขากระปุก  อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี อีกด้วย

               และเมื่อกราบบังคมทูล ฯ ขอพระราชทานชื่อโครงการ พระองค์จึงตรัสว่าชื่อ "ชั่งหัวมัน" ก็แล้วกัน

              ชื่อ โครงการชั่งหัวมัน ถือได้ว่าเป็นชื่อโครงการที่แปลก ชวนให้คิดตีความว่าชื่อนี้มีความหมายอะไร ถ้าตีความหมายตามสำนวนไทย ชั่งหัวมัน (ช่างหัวมัน) ก็หมายถึง "ไม่ต้องไปสนใจ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด ใครจะทำอะไรก็ทำไป เราไม่ต้องไปใส่ใจ" พระองค์ท่านเป็นนักปราชญ์มีสายพระเนตรยาวไกลและความคิดที่ลึกซึ้ง ชั่งหัวมันจึงเป็นชื่อที่สื่ออะไรที่มีความหมายลึกซึ้งมากยิ่งกว่าแค่เอาหัวมันมาชั่ง  ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะตีความตามแบบฉบับของตัวเองแล้วกันค่ะ ซึ่งขอบอกว่า ไม่ธรรมดาแน่ ๆ ค่ะ

             สถานที่ตั้ง:  คลอบคลุมตำบลเขากระปุก และตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (ห่างจากที่พัก วิมานน้ำ รีสอร์ท ประมาณ 15 กิโลเมตร)

"โครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นอีกแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม"

โทรศํพท์ติดต่อ : 032-461507

รูปโครงการ :

                    วิมานน้ำ รีสอร์ท
                    วิมานน้ำ รีสอร์ท
                                                                     ตำหนักที่ประทับของพระองค์

โครงการพระราชดำริการปลูกหญ้าเเฝก

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์
และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก” 
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ
ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย
กว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง
เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า
Vetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.
Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุ
ได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.
มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อ
จากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้
เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 
1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ
และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร
ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้

2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก

3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝก
เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถว
ตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน

4.การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถว
ของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน

5.การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา

6.การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นา
ตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
ตะกอนดิน

7.การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม

8.การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝก
เพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

9.การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน
ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น

10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพง
กักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น 

ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก 

1.ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน

2.ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิต
จำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

3.หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนราก
สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”

จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มี
ผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติ
ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International
Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ
หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า
ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด
ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น
ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนิน
งานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์
ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล
แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มาของข้อมูลและรูป http://www.sudyord.com/ecommerce/king-2002/ouddy-oud/project5.html

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง


โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส โดยมีที่ตั้งโครงการ อยู่ที่ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

[แก้]ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรโดยทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และความจำเป็นที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ภาระเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดให้ดีขึ้น จึงทรงมีพระราชดำริและพระราชกระแสรับสั่งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ติดตามเสด็จ ให้พิจารณาปรับปรุงกิจการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่พรุ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งต่อ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายวารินทร์ บุษบรรณ เกษตรจังหวัดนราธิวาส นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดปี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งมีเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 300,000 ไร่ กสิกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกหมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารไพไรท์ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาโดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษา และพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่พรุในโอกาสต่อไป
การสนองพระราชดำริ ได้มีการร่วมประชุมระหว่างจังหวัดนราธิวาส และ สำนักงาน กปร. โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนา โดยให้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" สำนักงาน กปร. ได้นำนโยบายดังกล่าวไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาปัญหาในพื้นที่ และสรุปเป็นข้อเสนอแนะโครงการ ขออนุมัติจากคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และได้อนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2525

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่...แด่เพื่อนๆ

      เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว..ขอให้ผ่อแผ้วสุขสันต์
เรียนหนังสือ...ขอให้สนุกทั้งวัน
คิดสิ่งใดนั้น...ขอให้สมฤทัย
สมองจงปลอดโปร่งใส
ทำงานส่งอาจารย์...ได้เร็วไว
ถึงช่วงทายทำข้อสอบ...ได้เกรดA